การเริ่มต้นเว็บไซต์เนื้อหาสำหรับนักการตลาด Affiliate – แพลตฟอร์มบล็อกที่ดีที่สุด

Table of Contents

เว็บไซต์เนื้อหาหรือบล็อกเป็นสื่อกลางที่ยอดเยี่ยมสำหรับการโพสต์เนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มของคุณ เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างความไว้วางใจกับผู้ชมของคุณ

ยิ่งคุณมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในบล็อกมากเท่าไร ผู้ชมก็จะยิ่งเชื่อมั่นในคำแนะนำของคุณมากขึ้นเท่านั้น

ข้อดีและข้อเสียของการมีบล็อกเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกัน

ข้อดีของบล็อกข้อเสียของบล็อก
ควบคุมสิ่งที่คุณโพสต์ได้อย่างสมบูรณ์ต้องรู้เรื่อง SEO
จะไม่ได้รับผลกระทบเมื่อโซเชียลมีเดียล่มต้องใช้ความรู้ด้านเทคนิคในการจัดการเว็บไซต์

แต่ไม่ต้องกังวลไป เราพร้อมช่วยเหลือคุณในการทำให้บล็อกของคุณพร้อมใช้งานโดยไม่ต้องใช้ศัพท์เทคนิคมากมายพร้อมกับวิธีการต่าง ๆ

เตรียมจ่ายเงินประมาณ 70 ถึง 100 ดอลลลาร์สหรัฐต่อปีสำหรับเว็บโฮสติงคุณภาพดีและการจดโดเมนเนม

4 เรื่องที่คุณต้องรู้เพื่อเป็นเจ้าของบล็อก

ขั้นตอนที่ 1: เลือกระบบจัดการเนื้อหา (CMS)

(ที่มาของภาพ: Pexels)

ระบบจัดการเนื้อหา (CMS) ช่วยให้คุณจัดระเบียบและเผยแพร่เนื้อหาของคุณได้โดยไม่ต้องรู้ HTML หรือทักษะการเขียนโค้ดแม้แต่น้อย

มี CMS ยอดนิยมมากมาย ตั้งแต่ตัวสร้างเพจแบบลากและวางที่เหมาะสมกว่าสำหรับเว็บไซต์ที่มีสื่อจำนวนมาก ไปจนถึง WordPress ยอดนิยม ซึ่งเป็น CMS ที่บล็อกเกอร์ส่วนใหญ่เลือกใช้ CMS แต่ละระบบก็ข้อดีและข้อเสียต่างกันไป

ต่อไปนี้คือระบบจัดการเนื้อหายอดนิยมสำหรับการตั้งและจัดการเว็บไซต์บล็อกและสื่อ

CMSคำอธิบายดีที่สุดสำหรับข้อดีข้อเสีย
CMS ที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก (ผู้ใช้มากกว่า 30 ล้านคน)ต้องเรียนรู้วิธีใช้สักหน่อย แต่ดีที่สุดสำหรับบล็อกแบบข้อความ– ระบบหลังบ้าน CMS จัดการง่าย ทั้งการแก้ไขเพจและอัปโหลดเนื้อหาใหม่
– เข้าถึงปลั๊กอินมากกว่า 55,000+ แบบ
– ธีมปรับย่อขนาดแบบ Responsive ได้ในทุกอุปกรณ์
– ต้องใช้ปลั๊กอินตัวสร้างหน้าเพื่อสร้างหน้าแลนดิงเพจ
– ปลั๊กอินและธีมหลายตัวอาจใช้งานร่วมกันได้ไม่ดีเป็นบางครั้ง
– ต้องใช้ความรู้ด้านเทคนิคเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเร็วเว็บไซต์และทำ SEO
CMS ที่สร้างสร้างเว็บไซต์แบบลากและวาง ฟรีและเป็นมิตรต่อผู้ใช้ดีเยี่ยมสำหรับผู้เริ่มต้น สำหรับหน้าแลนดิงเพจและเนื้อหาที่มีสื่อจำนวนมาก– เรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว
– เว็บไซต์เร็วตั้งแต่แรก
– เทมเพลตต่างๆ ให้เลือกโดยไม่ต้องเริ่มสร้างใหม่จากศูนย์
– อินเทอร์เฟซแบบลากและวางที่ใช้งานง่าย
– สามารถดาวน์โหลดฟีเจอร์เสริมได้จาก Wix App Market เพื่อเสริมเว็บไซต์ของคุณ
– SEO, โซเชียลมีเดีย และการจัดการอีเมลพร้อมในตัว เพื่อสร้างตัวตนออนไลน์ของเว็บไซต์
– ฟรี HTTPS และตัวสร้างโลโก้
การสนับสนุนลูกค้าที่เชื่อถือได้
– ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้เทมเพลตใหม่ ๆ ได้
– แผนฟรี: บังคับใส่แบรนด์ Wix
– แผนแบบชำระเงินสำหรับเว็บไซต์เดียว
– ไม่สามารถส่งออกเนื้อหาจากเว็บไซต์
แพลตฟอร์ม CMS ที่สร้างสร้างเว็บไซต์แบบลากและวาง ฟรีและเป็นมิตรต่อผู้ใช้ดีเยี่ยมสำหรับผู้เริ่มต้น สำหรับหน้าแลนดิงเพจและเนื้อหาที่มีสื่อจำนวนมาก– เทมเพลตตาม ‘ลุคและฟีล’ และที่ปรับย่อตามขนาดจอให้เลือกหลากหลาย
– ระบบหลังบ้านที่ใช้งานง่ายสำหรับการปรับแต่งเนื้อหาและการออกแบบ
ใช้ภาพสต็อก
– ควบคุมการตั้งค่า SEO พื้นฐาน
– เฝ้าดูสถิติ
– การปรับแต่งที่จำกัด
– มีปลั๊กอินจำกัด
– ไม่มีแผนฟรี

ไม่มี CMS ไหนที่สมบูรณ์แบบ แต่ WordPress เหมาะสมที่สุดหากคุณวางแผนที่จะมีบล็อกแบบข้อความ

เมื่อคุณตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์ม CMS สำหรับเว็บไซต์ของคุณแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจดโดเมนเนม

ขั้นตอนที่ 2: จดโดเมนเนม

(ที่มาของภาพ: Freepik)

โดเมนเนมคือที่อยู่ URL ของเว็บไซต์คุณ ลิงก์นี้คือสิ่งที่จะถูกแชร์และให้ผู้อื่นมองเห็นได้ ฉะนั้นการซื้อโดเมนเนมที่สะท้อนถึงแบรนด์ของคุณจึงมีความสำคัญ

ผู้รับจดทะเบียนชื่อ อย่างเช่น namecheap.com เป็นเว็บไซต์ที่คุณสามารถซื้อโดเมนเนมได้ คิดเสียว่าเป็นการเสียค่าใบอนุญาตรายปี เพื่อเป็นเจ้าของโดเมน URL เฉพาะ

เคล็ดลับในการเลือกโดเมนเนม: เลือกชื่อที่จำ ออกเสียง และโปรโมตออนไลน์ได้ง่าย เลือกชื่อที่สั้นและจำได้ง่าย

ในสมัยก่อน ผู้คนซื้อโดเมนเนมแยกต่างหากจากผู้รับจดทะเบียน เช่น NameCheap แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ เว็บโฮสติงจำนวนมากได้รวมการจดทะเบียนโดเมนเนมกับแพ็กเกจเว็บโฮสติง มาดูวิธีกัน:

ขั้นตอนที่ 3: เลือกเว็บโฮสติงที่เชื่อถือได้และมีการสนับสนุน

(ที่มาของภาพ: Freepik)

เว็บโฮสติงให้เช่าพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์เพื่อจัดเก็บเนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์ของคุณ

ดังนั้นเมื่อมีคนต้องการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณ เนื้อหาจะโหลดจากเซิร์ฟเวอร์ของเว็บโฮสติง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องใช้เว็บโฮสติงที่มีความเร็วสูง

หลักการง่าย ๆ ในการเลือกเว็บโฮสติงที่ยอดเยี่ยมคือ:

  • การบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ – สำหรับมือใหม่ คุณจะต้องใช้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเยอะ
  • บทความ “วิธีการทำ” ที่ครอบคลุมและเข้าใจง่ายในฐานความรู้ เนื่องจากคุณจะมาอ่านบทความนี้บ่อย ๆ เมื่อพบปัญหาทางเทคนิค (ซึ่งคุณจะพบแน่นอน)
  • ได้รับคำแนะนำโดยคนในเครือข่ายของคุณ

ต่อไปนี้คือบริการเว็บโฮสติงที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและท้องถิ่นที่ควรดู:

ขั้นตอนที่ 4: คุณควรจ่ายหรือใช้เว็บโฮสติงฟรี

(ที่มาของภาพ: Freepik)

คุณจำเป็นต้องจ่ายเงินสำหรับเว็บโฮสติงหรือไม่ ถ้ามีเว็บโฮสติงฟรีแล้ว เราขอสรุปของข้อดีและข้อเสียไว้:

ข้อดีของโฮสติงแบบจ่ายเงินข้อเสียของโฮสติงฟรี
ใช้โดเมนเนมของคุณ (www.example.com) และดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นจะมีชื่อแบรนด์ของโฮสต์ต่อท้าย (www.example.wix.com)
คุณเป็นเจ้าของไซต์และทำทุกอย่างที่คุณต้องการอย่างการวางโฆษณาคุณไม่ได้เป็นเจ้าของเว็บไซต์นั้นและจะมีข้อจำกัดในสิ่งที่คุณสามารถทำได้
การสนับสนุนลูกค้าแบบเร่งด่วนขีดจำกัดในการสนับสนุนลูกค้าและแบนด์วิธของเซิร์ฟเวอร์

หากคุณจริงจังกับการสร้างแบรนด์ส่วนตัวในระยะยาว เราขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้จ่ายเงินให้เว็บโฮสติง

สำหรับมือใหม่ เราขอแนะนำให้คุณตั้งเว็บไซต์ของคุณด้วย WordPress CMS และเว็บโฮสติงแบบจ่ายเงิน เพราะ:

  • ง่ายต่อการจัดการเนื้อหาของคุณในแพลตฟอร์มแบบครบวงจร
  • ด้วยโดเมนเนมที่คุณซื้อ คุณจะสามารถควบคุมเว็บไซต์ของคุณได้ทั้งหมดและมีตัวเลือกในการส่งออกเนื้อหาของคุณ
  • อัปเดตเว็บไซต์ตามใจของคุณ รวมถึงการเพิ่มปลั๊กอิน WordPress ทั้งแบบฟรีและจ่ายเงิน
  • ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่คุณสามารถเรียกได้ว่าเป็นของคุณเอง และควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ คุณจะถูกมองว่าเป็นผู้มี

อำนาจในกลุ่มของคุณ ด้วยเหตุนี้ คำแนะนำของคุณจะได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังมากขึ้น และสิ่งนี้จะส่งผลให้มียอดขาย Affiliate มากขึ้น

เราหวังว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณ เมื่อคุณตั้งเว็บไซต์ของคุณแล้ว ให้ลงทะเบียนเป็นพาร์ทเนอร์กับ Involve ซึ่งคุณสร้างรายได้จากการแนะนำออนไลน์ได้!

Share this article